【เรื่องน่ารู้】รายละเอียดเอกสารที่ใช้ในการยื่นขอคืนเงินบำนาญ
ขาวมณี
คราวก่อนได้เขียนบทความของผู้ที่มีสิทธิ์ขอเงินบำนาญที่จ่ายไปคืน ตามอ่านกันได้ที่นี่เลย
https://www.iiwasabi.com/app/chatbar/topic/2161
*อย่าลืมlog in แล้วกด WOW ให้ด้วยนะคะ ><

วันนี้มาดูรายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมกัน เริ่มจากเอกสารต้องใช้ในการยื่นเรื่อง

【เอกสารที่ต้องยื่น】
“คำขอรับเงินชดเชยการออกจากระบบบำนาญ (บำนาญแห่งชาติ / ประกันบำนาญสำหรับลูกจ้าง)”

【เอกสารแนบ】
① สำเนาหนังสือเดินทาง (หน้าที่สามารถยืนยันชื่อ, วันเดือนปีเกิด, สัญชาติ, ลายมือชื่อ และสถานภาพการพำนักในญี่ปุ่นได้)
② เอกสารที่สามารถยืนยันการที่ไม่มีที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้( เช่น สำเนาของทะเบียนบ้านที่ถูกลบออกเนื่องจากการย้ายออก (*))
③ เอกสารที่สามารถยืนยัน “ชื่อธนาคาร” “ชื่อสาขา” “ที่อยู่ของสำนักงานสาขาของธนาคาร” “เลขที่บัญชี” และ “ชื่อบัญชีที่เป็นชื่อผู้ยื่นคำขอเอง” ได้ ( เช่น ใบรับรองออกโดยธนาคาร หรือให้ทางธนาคารประทับตรารับรองในช่อง “ตรารับรองของธนาคาร”
④ เอกสารทีสามารถแสดงหมายเลขเงิน บำนาญพื้นฐานอย่างชัดเจนได้ เช่น ใบแจ้งหมายเลขเงินบำนาญพื้นฐาน หรือ สมุดเงินบำนาญ เป็นต้น

* กรณีท่านยื่นใบแจ้งย้ายออกที่เทศบาลที่ท่านอาศัยอยู่ก่อนที่จะเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่น ไม่จำเป็นต้องแนบเอกสารตามข้อ 2.
เนื่องจากสามารถยื่นยันการที่ไม่มีที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้จากข้อมูลการลบทะเบียนบ้านออก


【ข้อควรระวังในการยื่นคำขอ】
หากท่านจะยื่นคำขอในประเทศญี่ปุ่นก่อนเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่น กรุณายื่นคำขอไปยังองค์การเงินบำนาญแห่งประเทศญี่ปุ่นใน
วันที่(จะ)ย้ายออกจากทะเบียนบ้านหรือหลังจากนั้น (เนื่องจากการรับเงินชดเชยฯท่านต้องไม่มีที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นในวันที่องค์การเงินบำนาญแห่งประเทศญี่ปุ่นได้รับคำขอจากท่าน)
ส่วนกรณีที่ท่านส่งคำขอทางไปรษณีย์กรุณาส่งให้ถึงองค์การเงินบำนาญแห่งประเทศญี่ปุ่นในวันที่ (จะ) ย้ายออกหรือหลังจากนั้น
  • 1 WoW
ขาวมณี
≪ข้อควรระวังในการยื่นคำขอรับเงินชดเชยการออกจากระบบบำนาญ≫
กรุณาอ่านข้อควรระวังดังต่อไปนี้เพื่อพิจารณาเรื่องการรับเงินบำนาญในอนาคตให้ดีก่อนยื่นคำขอรับเงินชดเชยฯ

① ระยะเวลาสิทธิที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ (ปรับลดจากเดิม 25 ปี ไป เป็น 10 ปี ตั้งแต่สิงหาคม 2017)
หากท่านมี “ระยะเวลาสิทธิ๋” ที่จะได้รับเงินบำนาญเป็นเวลา 10 ปี(120 เดือน) ขึ้นไป ท่านจะสามารถได้รับเงินบำนาญชราภาพของญี่ปุ่นในอนาคตได้
อย่างไรก็ตามหากท่านได้รับเงินชดเชยการออกจากระบบบำนาญแล้ว ระยะเวลาทั้งหมดที่ท่านเข้าระบบบำนาญก่อนยื่นคำขอรับเงินชดเชยฯ นั้นจะถือเป็นโมฆะ

* ระยะเวลานับรวม หมายถึงระยะเวลาที่สามารถนับรวมเป็นระยะเวลาสิทธิ์ได้ถึงแม้ว่าไม่ได้เข้าระบบบำนาญของญี่ปุ่นในขณะน้ัน (แต่ไม่สามารถนำไปคำนวณจานวนเงินบำนาญได้)
เช่น สำหรับชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นแบบถาวรนั้น ช่วงระยะเวลาที่อยู่นอกประเทศญี่ปุ่นช่วงตั้งแต่เมษายน 1961 ถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอาศัย อยู่ในญี่ปุ่นแบบถาวร (เฉพาะช่วงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 60 ปี เท่านั้น) ถือว่าเป็นระยะเวลานับรวม

ส่วนรายละเอียดนั้นท่าน
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเงินบำนาญ

  • 1 WoW
ขาวมณี
② การคำนวณรวมระยะเวลาเข้าระบบ
ท่านใดที่เคยเข้าระบบบำนาญของประเทศที่ทำข้อตกลงว่าด้วยการคำนวณรวมระยะเวลาเข้าระบบบำนาญกับประเทศญี่ปุ่นอาจสามารถคำนวณระยะเวลาเข้าระบบ
บำนาญของทั้งสองประเทศรวมกันภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดและได้รับเงินบำนาญจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศคู่ตกลง อย่างไรก็ตามหากท่านได้รับเงินชดเชยฯแล้ว
ไม่สามารถคำนวณรวมระยะเวลาเข้าระบบดังกล่าวได้ เนื่องจากระยะเวลาทั้งหมดที่ท่านเข้าระบบบำนาญก่อนยื่นคำขอรับเงินชดเชยฯ นั้นจะถือเป็นโมฆะ

【 ประเทศที่ทำข้อตกลงว่าด้วยประกันสังคมในการคำนวณรวมระยะเวลาเข้าระบบบำนาญกับประเทศญี่ปุ่น ( มิถุนายน 2022)】
เยอรมัน, สหรัฐอเมริกา, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, แคนาดา, ออสเตรเลีย, เนเธอร์แลนด์, สาธารณรัฐเช็ก, สเปน, ไอร์แลนด์, บรำซิล, สวิตเซอร์แลนด์, ฮังกำรี, อินเดีย, ลักเซมเบิร์ก, ฟิลิปปินส์, สโลวาเกีย ฟินแลนด์และสวีเดน


“ทั้งนีข้อมูลล่าสุดในการทำข้อตกลงว่าด้วยประกันสังคมนั้น
กรุณาตรวจสอบทีเว็บไซต์ขององค์กรเงินบำนาญแห่งประเทศญี่ปุ่น”
https://www.nenkin.go.jp/international/agreement/status.html)
  • 1 WoW
ขาวมณี
③ จำนวนเดือนสูงสุดในการคำนวณจำนวนเงินที่จ่าย
(ได้รับการปรับจากเดิมสูงสุดไม่เกิน 36 เดือน (3 ปี ) ไปเป็น 60 เดือน (5 ปี )ตั้งแต่เมษายน 2021)

จำนวนเงินชดเชยฯ ที่จ่ายนั้นทางเราจะคำนวณตามจำนวนเดือนที่ท่านเข้าระบบบำนาญของญี่ปุ่นโดยจำนวนเดือนสูงสุดไม่เกิน 60 เดือน แต่หากระยะเวลาที่ถือว่าจ่ายเบี้ยประกันบำนาญแห่งชาติ หรือ ระยะเวลารวมที่เข้าระบบบำนาญสำหรับลูกจ้างหรือบำนาญข้าราชการและครูโรงเรียนเอกชนที่นำไปคำนวณจำนวนเงินชดเชยฯ ที่จ่ายนั้นอยู่ภายในเดือนมีนาคม 2021 หรือก่อนหน้านั้นทั้งหมด ทางเราจะคำนวณจำนวนเงินที่จ่ายโดยจำนวนเดือนสูงสุดไม่เกิน 36 เดือน

* หากท่านใดที่เข้าระบบบำนาญของญี่ปุ่น 61 เดือนขึ้นไปยื่นคำขอรับเงินชดเชยฯ ทางเราจะคำนวณจำนวนเงินที่จ่ายโดยจำนวนเดือนสูงสุดไม่เกิน 60 เดือน
อย่างไรก็ตามระยะเวลาทั้งหมดที่ท่านเข้าระบบบำนาญก่อนยื่นคำขอรับเงินชดเชยฯ นั้นจะถือเป็นโมฆะ
(* กรณีที่ท่านใดที่พำนักอาศัยในญี่ปุ่นหลายครั้งและคาดว่าจะมีระยะเวลารวมที่เข้าระบบบำนาญของญี่ปุ่น 61 เดือนขนึ้ ไปมีความประสงค์ที่จะรับเงินชดเชยฯ
ตามระยะเวลาเข้าระบบบำนาญอาจต้องยื่นคำขอเมื่อเดินทางกลับประเทศตัวเองหลังสิ้นสุดระยะเวลาการพำนักอาศัยแต่ละครั้ง
(เช่น ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคประเภท 1 และประเภท 2 เป็นเวลา 3 ปี (36 เดือน) สิ้นสุดแล้วเดินทางกลับประเทศตัวเอง จากนั้นเข้าประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งในฐานะแรงงานทักษะเฉพาะทางประเภท 1

(พำนักอาศัยได้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี) ซึ่งในกรณีนี้ท่านสามารถรับเงินชดเชยฯ
ตามระยะเวลาเข้าระบบบำนาญได้โดยการยื่นคำขอหลังสิ้นสุดระยะเวลาฝึกปฏิบัติงานเทคนิคประเภท 2
และหลังสิ้นสุดระยะเวลาพำนักอาศัยในฐานะแรงงานทักษะเฉพาะทางประเภท 1)
  • 1 WoW