【เรื่อน่ารู้】การขอเงินชดเชยเมื่อได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน
ขาวมณี
มีใครที่เคยได้รับบากเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นต้องลางาน หรือ หยุดงาน กันบ้างไหม?

วันนี้เราจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับเงินชดเชย(เงินประกัน)ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน
โดยแรงงานจะได้รับค่าชดเชยจากประกันภัยเงินทด แทนแรงงานในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยอันมีเหตุจากการทำงาน

『1』 ลำดับขั้นตอนการใช้ประกันเงินทดแทนแรงงาน
 • หากเป็นโรงพยาบาลที่ประกันภัยเงินทดแทนแรงงานระบุไว้ โดยหลักเกณฑ์แล้วจะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล (กรณีเป็นโรงพยาบาลนอกเหนือจากที่ระบุไว้แรงงานจะต้องรับภาระชำระค่าใช้จ่ายไปก่อน แต่ค่าใช้จ่ายที่ชำระไปจะได้รับการชดใช้คืนเมื่อยื่นคำร้องต่อสำนักงานกำกับมาตรฐานแรงงาน)
 • เมื่อจำเป็นต้องหยุดงาน จะสามารถได้รับค่าชดเชยหยุดงาน (นายจ้างจ่ายร้อยละ 60 ของค่าจ้างเฉลี่ย จนถึงวันที่ 3 ของการหยุดงาน และตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นไปของการหยุดงาน แรงงานจะได้รับค่าชดเชยร้อยละ 80 ของจำนวนเงินที่เท่ากับค่าจ้างเฉลี่ยจากประกันภัยเงินทดแทนแรงงาน)
 • กรณีแรงงานเสียชีวิตเงินช่วยเหลือ(เงินชดเชย)สำหรับ ครอบครัว ผู้เสียชีวิต เป็นต้น จะถูกจ่ายให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต
 • บริษัทจะไม่สามารถเลิกจ้างแรงงานได้ในระหว่างที่กำลังหยุดงานเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วยจากการทำงานและในช่วงเวลาหลังจากนั้นอีก 30 วัน

  • 5 WoW
ขาวมณี
『2』 ข้อควรระวังอื่น ๆ
• นอกจากการบาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วยในระหว่างการทำงานแล้วการบาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วยระหว่างการเดินทางมาทำงานก็เข้าเกณฑ์ของการประกันด้วย
• ความผิดปกติทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ที่เกิดจากเหตุในการทำงาน เช่น การทำงานเป็นเวลายาวนาน ฯลฯ ก็จัดเป็นภัยจากการทำงานด้วย
• แม้ว่าหลังจากกลับคืนประเทศแล้วก็ตาม หากเกิดการเจ็บป่วยเนื่องจากสาเหตุการทำงานในเวลาอยู่ญี่ปุ่นก็จัดเป็นภัยจากการทำงานด้วย
• กรณีบาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วยอัน มีเหตุจากการทำงานจะใช้ประกันสุขภาพไม่ได้
• เมื่อประสบความเดือดร้อนจากการบาดเจ็บ หรือ เจ็บป่วยในระหว่างการทำงาน หรือ ระหว่างการเดินทางมาทำงาน โปรดปรึกษากับสำนักงานกำกับมาตรฐานแรงงาน
• นอกจากพนักงานประจำแล้วพนักงานจัดหาชั่วคราว พนักงานสัญญาจ้าง แรงงานพาร์ต ไทม์ พนักงานทำงานพิเศษก็เข้าเกณฑ์การประกันภัยเงินทดแทนแรงงานด้วย
• โดยพื้นฐานแล้ว บริษัทที่ว่าจ้างแรงงานแม้เพียง 1 คน ก็มีหน้าที่ต้องเข้าสู่ระบบประกันภัยเงินทดแทนแรงงาน โดยบริษัทต้องรับภาระเบี้ยประกันเต็มจำนวน



ดูรายละเอืยดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ประกันภัยเงินทดแทนแรงงานได้ที่นี่
https://www.mhlw.go.jp/new-info/kobetu/roudou/gyousei/rousai/gaikoku-pamphlet.html
  • 5 WoW