【เรื่องน่ารู้】อธิบายการจ้างงานแต่ละชนิดของญี่ปุ่น (แบบละเอียด)
ขาวมณี
ชาวต่างชาติจะได้รับอนุญาตให้ทำงานในประเทศญี่ปุ่นภายในขอบเขตที่ได้รับอนุญาตตามสถานภาพการพำนักเมื่อเน้นประเด็นคำถามว่าท่านจะสามารถทำงานได้หรือไม่นั้น
เราอาจแบ่งประเภทสถานภาพการพำนักเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

❶สถานภาพการพำนักที่สามารถทำงานได้ภายในขอบเขตที่กำหนดตามสถานภาพการพำนัก
การทูต, ราชการ, ศาสตราจารย์, ศิลปะ, ศาสนา, สื่อมวลชน, วิชาชีพขั้นสูง , ธุรกิจ หรือ งานบริหาร, งานกฎหมายหรือ บัญชี, การแพทย์, งานวิจัย , การศึกษา, ความรู้เทคโนโลยี-มนุษยศาสตร์ งานระหว่างประเทศ,การโอนย้ายภายในบริษัท, บริบาล, งานแสดง, งานทักษะ, งานทักษะเฉพาะ, ฝึกงานทางเทคนิค, กิจกรรมเฉพาะ (เช่น ทำงานระหว่างท่องเที่ยว พยาบาลชาวต่างชาติ หรือ ผู้บริบาลตามความตกลงหุ้นส่วนทาง
เศรษฐกิจิ ฯลฯ )

❷สถานภาพ การพำนักที่โดยหลักเกณฑ์แล้วไม่อนุญาตให้ทำงาน
กิจกรรมทางวัฒนธรรม, พำนักระยะสั้น  , ศึกษาต่อต่างประเทศ, ฝึกอบรม, ติดตามครอบครัว

❸สถานภาพ การพำนักที่ไม่มีข้อจำกัดในการทำงาน
ผู้พำนักถาวร, คู่สมรสของชาวญี่ปุ่น , คู่สมรสของผู้พำนักถาวร, ผู้ตั้งถิ่นฐาน


  • 2 WoW
ขาวมณี
ลักษณะการจ้างงาน
① จัดหาชั่วคราว (ลูกจ้างชั่วคราว)

 ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกับคำว่า “จัดหาชั่วคราว” กันก่อน
 หมายถึงลักษณะการทำงานดังต่อไปนี้
 (1) แรงงานจะทำสัญญาจ้างงานกับบริษัทจัดหาแรงงานชั่วคราว (ผู้ส่งแรงงาน) (ทั้งนี้บริษัทจัดหาแรงงานชั่วคราวเป็นผู้จ้างและจ่ายค่าจ้าง)
 (2) แรงงานจะถูกส่งไปทำงานยังบริษัทที่ทำสัญญาจัดหาแรงงาน (ผู้รับแรงงานกับบริษัทจัดหาแรงงานชั่วคราว
 (3) แรงงานทำงานโดยได้รับคำสั่งของบริษัทผู้รับแรงงาน

• ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดหาแรงงานชั่วคราวนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้แก่แรงงานกลุ่มนี้ ดังนั้น บริษัทจัดหาแรงงานชั่วคราวและผู้รับแรงงานจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณ์ที่กำหนดนี้อย่างเคร่งครัด
• กรณีเกิดปัญหาในการทำงานจากแรงงานชั่วคราว แรงงานสามารถขอรับคำปรึกษาได้จากเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาของแต่ละฝ่าย คือ บริษัทจัดหาแรงงานชั่วคราวและผู้รับแรงงาน
• กรณีของการทำงานชั่วคราว บริษัทจัดหาแรงงานชั่วคราวและผู้รับแรงงานจะร่ว่มกันรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานแรงงานสาธารณสุขและความปลอดภัย ฯลฯ
  • 2 WoW
ขาวมณี
② พนักงานสัญญาจ้าง (พนักงานที่สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา)
• พนักงานสัญญาจ้าง คือ แรงงานที่ได้ทำสัญญาจ้างงานที่มีการกำหนดระยะเวลาไว้ในสัญญากับนายจ้าง
• กรณีที่ทำสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาของสัญญาไว้ล่วงหน้า สัญญานั้นจะสิ้นสุดลงอัตโนมัติเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาของสัญญาแต่สามารถต่อระยะเวลาของสัญญาออกไปได้หากแรงงานและบริษัทเห็นพ้องต้องกันแล้วทำสัญญาจ้างแรงงานขึ้นใหม่ (ฉบับใหม่)
• ระยะเวลาของสัญญาต่อครั้ง  สูงสุดไม่เกิน 3 ปี (ยกเว้นบางกรณี)
  • 2 WoW
ขาวมณี
③ แรงงานพาร์ทไทม์

• แรงงานพาร์ต์ ไทม์ หมายถึง แรงงานที่มีเวลาทำงานปกติต่อสัปดาห์ (*) น้อยกว่าแรงงานปกติที่ถูกจ้างโดยสถานผู้ประกอบการเดียวกัน (คือ “พนักงานประจำ ”)ยกตัว อย่างเช่น แม้ชื่อเรียกจะต่างกันไป “พนักงานพาร์ตไทม์” “พนักงานทำงานพิเศษ” “พนักงาน
สัญญาจ้าง” “พนักงานเฉพาะกิจ ” “พนักงานกึ่งประจำ ” ฯลฯ แต่แรงงานใดที่มีเงื่อนไขในลักษณะนี้ถือว่าเป็นแรงงานพาร์ต์ ไทม์
(*) เวลาทำงานปกติต่อสัปดาห์ หมายถึง เวลาการทำงานตั้ง  แต่เวลาเริ่ม งานจนถึงเวลาเลิกงาน หลังหักลบเวลาพักตามที่กำหนดไว้ใ้นกฎระเบียบการทำงานแล้ว
• แรงงานพาร์ตไทม์อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงานทุกฉบับ ดังนั้นหากเข้าเกณฑ์เงื่อนไขแล้วจะได้รับสิทธิดังนี้
(1) สามารถได้รับวันลาหยุดพักร้อนประจำปี
(2) เข้าเกณฑ์เอาประกันการจ้างงาน (โคโย โฮเก็น ) ประกันสุขภาพ (เค็นโกโฮเก็น ) ประกันบำนาญสวัสดิการ (โคเซเน็งคินโฮเก็น )
• เมื่อบริษัทรับแรงงานเข้าทำงานจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ชี้แจงเงื่อนไขการทำงานโดยชัดเจน
(2) โดยเฉพาะเงื่อนไขสำคัญ 6 ประการ โดยหลักเกณฑ์แล้ว ต้องมอบเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร
นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นแรงงานพาร์ตไทม์ หรือ พนักงานสัญญาจ้าง(พนักงานสัญญาจ้างระยะยาว) ตามกฎจำเป็นต้องบอกรายละเอียด ให้ชัดเจน โดยการออกเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นต้น รายละเอียด
ดังกล่าว ได้แก่ “มีการขึ้นค่าจ้างหรือไม่” “มีโบนัสหรือไม่” “มีเงินเกษียณให้หรือไม่" “จุดให้คำปรึกษารายละเอียด เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบงานบุคคล” ฯลฯ”
  • 2 WoW
ขาวมณี
④ ผู้ทำงาน โดยทำสัญญาจ้างเหมาช่วง (รับเหมา)

กฎเกณฑ์
• กรณีทำงานที่เรียกว่า “จ้างเหมาช่วง” หรือ “รับเหมา” ค่าตอบแทนจะถูกจ่ายใหักับงานที่ทำสำเร็จตามงานที่ได้รับจากผู้สั่ง ทำจึงถือว่า “ผู้ประกอบการ” ที่ไม่ได้รับ คำสั่ง จากผู้สั่งทำโดยทั่วไปแล้วจะไม่สามารถรับความคุ้มครองในฐานะ “แรงงาน” ได้

กรณียกเว้น
• ถึงแม้จะทำสัญญาที่ เรียกว่า “จ้างเหมาช่วง” หรือ “รับเหมา” ก็ตามหากวิธีการทำงานจริงเป็นการรับคำสั่งจากผู้สั่งทำและพิจารณาตัดสินว่า เป็น “แรงงาน” ก็สามารถรับความคุ้มครองในฐานะ “แรงงาน” ได้
• กรณีที่พิจารณาตัดสินได้ยากว่าเป็น “แรงงาน” หรือไม่ โปรดปรึกษาสำนักงานกำกับมาตรฐานแรงงาน
  • 2 WoW