"แจแปนโอนลี่ ! ระบบนับเวลาแบบ 30 ชั่วโมง"
ระบบนับเวลาแบบญี่ปุ่น (1 วันมี 30 ชั่วโมง!)
เพื่อนๆเคยเห็นป้ายอย่างนี้กันไหมคะ
[[[ 営業時間 (eigyoujikan : เวลาทำการ) 9:00 - 26:00 ]]]
รู้ไหมคะว่า 26:00 คือกี่โมง!?
พอเห็น 26:00 ขึ้นมา บางคนก็อาจจะคิดว่าพิมพ์ผิด หรืองงว่าคือกี่โมงกันแน่ ต่อให้เดาได้หลายๆคนก็คงเกิดความสงสัยขึ้นว่าทำไมถึงต้องเขียนในรูปแบบนี้ด้วย วันนี้แอดมินเลยอยากมาแนะนำระบบนับเวลาของญี่ปุ่น ที่ไม่ได้จบแค่ที่ 24:00 แบบบ้านเรา แต่ลากยาวไปถึง 30:00 เลยค่ะ
=========================================
ระบบนับเวลาแบบ 30 ชั่วโมง( 30 時間制:30 ji-kan-sei )
เป็นระบบนับในเวลาประเทศญี่ปุ่นที่ยืดเพิ่มเติมจากระบบนับเวลาแบบ 24 ชั่วโมงปกติ โดยจะนับช่วงเวลา 0:00 - 6:00 ของวันถัดไปเป็น 24:00 - 30:00 ในวันก่อนหน้า โดยนิยมใช้ในการบอกเวลาข่าว ร้านค้า การดูดาว หรือแม้แต่การบอกรอบรถไฟ ที่มีช่วงเวลาทำการต่อเนื่องจนถึงหลังเที่ยงคืน เพื่อให้ช่วงเวลาต่อเนื่องกันกับวันก่อนหน้า ไม่เกิดความสับสน
ยกตัวอย่างเช่น
ระบบนับ 24 ชั่วโมง | ระบบนับ 30 ชั่วโมง
============== | ==============
24 กย 2021 23:00 | 24 กย 2021 23:00
25 กย 2021 0:00 | 24 กย 2021 24:00
25 กย 2021 1:00 | 24 กย 2021 25:00
25 กย 2021 2:00 | 24 กย 2021 26:00
25 กย 2021 3:00 | 24 กย 2021 27:00
25 กย 2021 4:00 | 24 กย 2021 28:00
25 กย 2021 5:00 | 24 กย 2021 29:00
25 กย 2021 6:00 | 25 กย 2021 6:00 ( = 24 กย 2021 30:00)
ในช่วงต้นระบบนี้อาจจะดูเข้าใจยากซักเล็กน้อย แต่ถ้าใช้จนชินแล้ว วิธีนับนี้ทำให้คำนวณชั่วโมงต่างๆง่ายกว่าเดิมเยอะเลยค่ะ
[[[ 営業時間 (eigyoujikan : เวลาทำการ) 9:00 - 26:00 ]]]
รู้ไหมคะว่า 26:00 คือกี่โมง!?
พอเห็น 26:00 ขึ้นมา บางคนก็อาจจะคิดว่าพิมพ์ผิด หรืองงว่าคือกี่โมงกันแน่ ต่อให้เดาได้หลายๆคนก็คงเกิดความสงสัยขึ้นว่าทำไมถึงต้องเขียนในรูปแบบนี้ด้วย วันนี้แอดมินเลยอยากมาแนะนำระบบนับเวลาของญี่ปุ่น ที่ไม่ได้จบแค่ที่ 24:00 แบบบ้านเรา แต่ลากยาวไปถึง 30:00 เลยค่ะ
=========================================
ระบบนับเวลาแบบ 30 ชั่วโมง( 30 時間制:30 ji-kan-sei )
เป็นระบบนับในเวลาประเทศญี่ปุ่นที่ยืดเพิ่มเติมจากระบบนับเวลาแบบ 24 ชั่วโมงปกติ โดยจะนับช่วงเวลา 0:00 - 6:00 ของวันถัดไปเป็น 24:00 - 30:00 ในวันก่อนหน้า โดยนิยมใช้ในการบอกเวลาข่าว ร้านค้า การดูดาว หรือแม้แต่การบอกรอบรถไฟ ที่มีช่วงเวลาทำการต่อเนื่องจนถึงหลังเที่ยงคืน เพื่อให้ช่วงเวลาต่อเนื่องกันกับวันก่อนหน้า ไม่เกิดความสับสน
ยกตัวอย่างเช่น
ระบบนับ 24 ชั่วโมง | ระบบนับ 30 ชั่วโมง
============== | ==============
24 กย 2021 23:00 | 24 กย 2021 23:00
25 กย 2021 0:00 | 24 กย 2021 24:00
25 กย 2021 1:00 | 24 กย 2021 25:00
25 กย 2021 2:00 | 24 กย 2021 26:00
25 กย 2021 3:00 | 24 กย 2021 27:00
25 กย 2021 4:00 | 24 กย 2021 28:00
25 กย 2021 5:00 | 24 กย 2021 29:00
25 กย 2021 6:00 | 25 กย 2021 6:00 ( = 24 กย 2021 30:00)
ในช่วงต้นระบบนี้อาจจะดูเข้าใจยากซักเล็กน้อย แต่ถ้าใช้จนชินแล้ว วิธีนับนี้ทำให้คำนวณชั่วโมงต่างๆง่ายกว่าเดิมเยอะเลยค่ะ