จะประเทศไหนๆก็มีมิจฉาชีพทั้งนั้น มาดูคำภาษาญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกัน
คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นควรรู้เกี่ยวกับมิจฉาชีพ 「サギ!に関する単語」
คนไทยหลายๆคนที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นอาจจะคาดไม่ถึงว่าที่ญี่ปุ่นก็มีแก๊งโจรมิจฉาชีพที่มาในหลายรูปแบบเช่นกัน ข้อมูลล่าสุดเดือนสิงหาคมปี 2021 ของกรมตำรวจพบว่าตั้งแต่ต้นปีนี้มีจำนวนคดีที่เกี่ยวกับมิจฉาชีพรวม 2,316 คดี หรือเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นราว ๆ 4,525 ล้านเยน (ประมาณ1,321ล้านบาท) ในทุกปีกรมตำรวจและทุกภาคส่วนต่างออกมารณรงค์และประกาศเตือนให้ประชาชนป้องกันภัยจากการถูกกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวง
เว็บไซต์หน่วยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมกรมตำรวจญี่ปุ่น
▶https://action.digipolice.jp/
▶https://www.npa.go.jp/bureau/safetylife/sos47/case/
เว็บไซต์ตำรวจภูธรฮิโรชิม่าที่ให้ข้อมูลพร้อมรูปภาพเข้าใจง่าย
▶https://www.pref.hiroshima.lg.jp/site/police/mottokuwashiku.html
เว็บไซต์หน่วยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมกรมตำรวจญี่ปุ่น
▶https://action.digipolice.jp/
▶https://www.npa.go.jp/bureau/safetylife/sos47/case/
เว็บไซต์ตำรวจภูธรฮิโรชิม่าที่ให้ข้อมูลพร้อมรูปภาพเข้าใจง่าย
▶https://www.pref.hiroshima.lg.jp/site/police/mottokuwashiku.html
คำศัพท์เกี่ยวกับมิจฉาชีพ
▶特殊詐欺 (tokushu-sagi)
ซากิ ในภาษาไทยคือ มิจฉาชีพ หรือ การหลอกลวง มีกลโกงในหลายรูปแบบแต่ประเภทที่นิยมหากินโดยใช้โทรศัพท์โทรไปยังผู้เสียหายและหลอกให้โอนเงินมายังบัญชีของแก๊งต้มตุ๋น ในภาษาญี่ปุ่นเรียกวิธีนี้ว่า โทคุชุซากิ หรือ มิจฉาชีพแบบเฉพาะ
▶オレオレ詐欺 (ore-ore-sagi)
โอเรโอเรซากิ เป็นรูปแบบที่แก๊งต้มตุ๋นจะแอบอ้างตนเป็นคนในครอบครัวของผู้เสียหาย หรือ ตำรวจ ทนายความและแกล้งขอให้ผู้เสียหายโอนเงินมาช่วยเหลือตนหรือคนอื่นๆในครอบครัวของผู้เสียหาย เช่น จะอ้างว่าคนคนนั้นกำลังประสบอุบัติเหตุและต้องการเงินด่วน หรืออ้างว่าต้องการเงินมาจ่ายให้คู่ความโดยด่วนเพื่อเกลี้ยกล่อมให้เรื่องจบ
หมายเหตุ โอเร เป็นคำเรียกแทนตนเองแปลว่า ผม หนู ในภาษาไทย ซึ่งปลายสายจะใช้เรียกแทนตนให้ผู้เสียหายเข้าใจว่า ผมเอง หนูเอง ที่กำลังคุยโทรศัพท์อยู่คือคนในครอบครัวโดยไม่ต้องพูดชื่อเล่นหรือชื่อจริงออกมาซึ่งสามารถทำให้ผู้เสียหายเข้าใจว่ากำลังพูดกับคนที่รู้จักอยู่จริงๆ
▶預貯金詐欺 (yochokin-sagi)
แก๊งต้มตุ๋นจะแอบอ้างตนเป็นคนในครอบครัวของผู้เสียหาย หรือ ตำรวจ พนักงานธนาคาร และแจ้งว่าบัญชีธนาคารของผู้เสียหายกำลังถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ผู้เสียหายจะต้องทำการเปลี่ยนบัตร ATM หรือสมุดบัญชีในทันทีเพื่อระงับการใช้งาน จากนั้นแก๊งต้มตุ๋นก็จะหลอกขอข้อมูลและรหัสบัตร ATM บัตรเครดิต หรือ สมุดบัญชีของผู้เสียหาย
▶キャッシュカード詐欺盗 (cashcard-sagi-tou)
แก๊งต้มตุ๋นจะแอบอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานธนาคาร หรือพนักงานของห้างสรรพสินค้ารายใหญ่และโทรไปหาผู้เสียหายเพื่อแจ้งว่าบัตร ATM ของผู้เสียหายกำลังถูกมิจฉาชีพนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องจะต้องทำการออกบัตรใหม่และจะขอรหัสบัตร จากนั้นแก๊งต้มตุ๋นจะเดินทางไปพบผู้เสียหายโดยทำเป็นจะออกบัตรใหม่ให้แต่จะสับเปลี่ยนบัตร ATM หรือสมุดบัญชีเป็นของปลอมให้กับผู้เสียหาย
▶架空料金請求詐欺 (kakuryokinseikyuu-sagi)
แก๊งต้มตุ๋นจะทำการโทรหาผู้เสียหายและหลอกว่าผู้เสียหายมียอดค้างชำระอยู่จากนั้นจะให้ผู้เสียหายโอนเงินมายังบัญชีของตน
▶還付金詐欺 (kanpukin-sagi)
แก๊งต้มตุ๋นจะแอบอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการและหลอกให้ผู้เสียหายทำธุรกรรมที่ตู้ ATM ตามที่ตนบอกเพื่อจะรับเงินภาษีคืนหรือเงินค่าประกันสุขภาพคืนเป็นต้น
คำศัพท์อื่นๆ
対策 (taisaku) ป้องกัน
手口 (teguchi) กลโกง รูปแบบหากิน วิธี
名乗る (nanoru) แอบอ้างชื่อ
乗っ取る (nottoru) ครอบครอง อ้างเป็นของตน
なりすます (narisumasu) แอบอ้าง ปลอมตัว
名称 (meishou) ชื่อเรียก
被害者(higaisha) ผู้เสียหาย
対策 (taisaku) ป้องกัน
手口 (teguchi) กลโกง รูปแบบหากิน วิธี
名乗る (nanoru) แอบอ้างชื่อ
乗っ取る (nottoru) ครอบครอง อ้างเป็นของตน
なりすます (narisumasu) แอบอ้าง ปลอมตัว
名称 (meishou) ชื่อเรียก
被害者(higaisha) ผู้เสียหาย
Call สายด่วนโทรปรึกษาปัญหากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ #9110 (เบอร์ภายในประเทศญี่ปุ่น)